วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทวิจารณ์ผลงานศิลปกรรมของ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ




“ For 49 Days Exhibition” : Mind Journey Beyond Death
(ศิลปะสัจธรรมว่าด้วยเรื่องความตายและการเกิดใหม่ภายใน 49 วัน)


การมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น การรับรส รวมทั้งการสัมผัสทางกายภาพ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการนำเสนอผลงานศิลปะ ในช่วงเวลาปัจจุบัน ที่เราเรียกว่า “ศิลปะหลังสมัยใหม่”(1) (Post Modern) ซึ่งศิลปินนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ภายใต้ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าทางสังคม ที่หันมาให้ความสำคัญกับความคิด มากกว่ารูปแบบ และวิธีการทำงานศิลปะตามแบบขนบดั่งเดิม ศตวรรษที่ 20 มีการนำความคิดเกี่ยวกับสถานะภาพของผู้ชมผลงานศิลปะว่า ไม่ควรอยู่ในเชิง “อกัมมันต์”(2) (passive) อย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรมีส่วนร่วมกับผลงานศิลปะทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยนำเสนอนิยามสุนทรียภาพจากการสัมผัสไว้ดังนี้
                 1. สุนทรียภาพ คือ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมผัสกับสิ่งที่สร้างสรรค์ด้วยปัญญา
                 2. สุนทรียภาพ คือ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมผัสกับการแสดงออกทางจิตปัญญา
                 3. สุนทรียภาพ คือ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมผัสกับสัจจะ ซึ่งมีในรูปแบบต่างๆ
                 4สุนทรียภาพ คือ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสัมผัสความหมายของสัญญาณ  สัญลักษณ์ 
                     รหัส   เครื่องหมาย หรือรูปเคารพ
            จากทฤษฎีสุนทรียภาพในข้างต้น ก่อให้เกิดผล ทางการสร้างสรรค์ ที่มีรูปแบบ วิธีการมากมาย ตามความชื่นชอบ และความสนใจของศิลปิน ซึ่งการสร้างสรรค์ได้ก้าวข้าม การทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับศาสตร์ในสาขาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น วรรณกรรม ดนตรี วิทยาศาสตร์ นาฏยศาสตร์ และศิลปะการแสดง
            การรวมตัวกัน ของศาสตร์สาขาต่างๆ ที่ถูกหยิบยก นำมาใช้เป็นสื่อในการแสดงออกเนื้อหาสาระทางความคิด เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่กำลังถูกจับตามอง ถึงกระบวนการ รูปแบบและวิธีการ ซึ่งมีการพัฒนาสืบทอดต่อเนื่องมากจาก รากฐานทางวัฒนธรรมของชนชาติ จึงมีความน่าสนใจที่ศิลปินจะนำมาผสมผสานกับวิธีการ และกระบวนการทางความคิดในเชิงทัศนศิลป์ ซึ่งในปัจจุบันศิลปะการแสดง 
“บุดโต”(Butoh Dance) พัฒนาการจากศาสตร์เก่าแก่ของอารยธรรมญี่ปุ่น สู่ศิลปะการแสดงร่วมสมัย กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก  ทั้งจากศิลปินและบุคคลโดยทั่วไป


“บุดโต” (Butoh Dance) ศิลปะการแสดงจากรากฐานทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่มีพัฒนาการมาจากการร่ายรำแบบญี่ปุ่นที่มี ท่วงท่า ลีลาประกอบกับการร่ายเวทมนต์ หรือประกอบการสวดบูชา เพื่อขอให้วิญญาณไปสู่สุขคติ ซึ่งมีการเคลื่อนไหว 3 ลักษณะ คือ การหมุนตัว การเต้น และการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการเคลื่อนไหวที่แสดงมารยาททางสังคม “บุดโต” จึงเป็นศาสตร์การแสดงที่สามารถแสดงอามรณ์ความรู้สึกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องราวทางจิตรวิญญาณ

ในปัจจุบันมีการเรียนการสอนศาสตร์ศิลปะการแสดง“บุดโต” กันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวญี่ปุ่น ที่แสดงออกถึงความเป็นชาตินิยม ที่สามารถเก็บรักษารากฐานทางวัฒนธรรมได้อย่างน่าชื่นชม ซึ่ง “บุดโต” ถูกพัฒนาให้มีความร่วมสมัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้ฉากประกอบการแสดงที่เป็นสากล การนำดนตรีที่มีความทันสมัยเข้ามาใช้ รวมทั้งการพัฒนาวิธีการแสดงออกให้เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมได้อย่างชัดเจน

จากพัฒนาการ การทำงานศิลปะที่มีอย่างต่อเนื่อง“บุดโต” (Butoh Dance) จึงกลายเป็นผลงานศิลปะที่มีความน่าสนใจ ซึ่งการทำงานศิลปะโดยใช้ภาษากายในการสื่อสาร ก็สร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิลปินจำนวนไม่น้อย

      อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินไทยที่มีชื่อเสียง จากการทำงานศิลปะสื่อผสม(3)  (Mix Media) จนประสบความสำเร็จในเวทีระดับโลกก็เป็นหนึ่งในศิลปิน ที่สนใจการทำงานศิลปะในรูปแบบการแสดง“บุดโต” (Butoh Dance)  อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ เริ่มการศึกษาศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง จบการศึกษาปริญญาโท ศิลปะบัณฑิต สาขาจิตรกรรมจากคณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาโทได้ไปศึกษาต่อ ณ เมือง Krokro ประเทศโปแลนด์ เริ่มต้นการทำงานศิลปกรรม จากการทำงานจิตรกรรม 2 มิติ ภายใต้เนื้อหาสาระทางสังคม ที่แออัดไปด้วยสถาปัตยกรรม 
สิ่งปลูกสร้างบนความเจริญทางด้านวัตถุของสังคม แสดงออกด้วยวิธีการทางจิตรกรรม  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาพถ่ายศิลปะ   
                    
ช่วงปลายทศวรรษ 2520 อำมฤทธิ์เป็นหนึ่งในศิลปินรุ่นใหม่ที่ร่วมบุกเบิกการทำงานศิลปะสื่อผสม โดยเฉพาะงานศิลปะที่เน้นการติดตั้งสัมพันธ์กับพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ  การทำงานศิลปกรรมของ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ใช้สื่อและวัสดุ ผสมผสานผ่านรูปแบบที่ตอนสนองแนวความคิด และนัยยะแอบแฝงที่พยายามสอดแทรกไว้ในลักษณะต่างๆ โดยมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับจากโลกศิลปะนานาชาติ เชิญให้เข้าร่วมการแสดงศิลปะนานาชาติ เวนิสเบียนาเล่ (Venice Biennale) ครั้งที่ 52 ปี 2550 ณ ประเทศอิตาลี ในชุดศิลปะสื่อผสมภายใต้ชื่อ “เชิญคุณก่อน...ขอหยุดคิด”         
                                                           
 “ความทุกข์” (Suffering) ผลงานศิลปะสื่อผสม ชุดล่าสุดของอำมฤทธิ์ ที่เป็นบทพิสูจณ์ถึงความทุ่มเท และคำสำเร็จในการค้นคิดทางวิธีการนำเสนอ แนวความคิดทางศิลปะในเชิงพุทธปรัชญา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคได้อย่างชัดเจน โดยผลงานเป็นการตีความจินตภาพของพุทธปรัชญา ที่ดูจะเป็นความเข้าใจยากสำหรับ บุคคลทั่วไปในสังคมแห่งความทันสมัย เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งการเลือกใช้ ความทันสมัยของ สื่ออิเล็กทรอนิคดูจะเป็นการตอบโจทย์ ที่ตรงประเด็นสำหรับการเรียนรู้ในยุคสมัยแห่งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงสุดทำให้ผลงานเข้าถึงผู้ชมในสังคมในปัจจุบันได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องการคำอธิบายอะไร นอกจากการมองเห็นผลงาน และตีความจากสิ่งที่เห็น
จากความพยายามสร้างสรรค์การแสดง“บุดโต” (Butoh Dance) อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ร่วมกับ กิตติพร อุดมรัตนกูลชัย และนักแสดงบุดโต ภายใต้แนวความคิดเกี่ยวกับ ความตายที่อยู่ไกล้ตัวเรามาก มันเป็นเรื่องที่ธรรมดา ไม่มีใครหนีพ้น เมื่อถึงเวลานั้น จะสามรถบอกลาร่างกาย คนรัก และโลกใบนี้ และจากไปอย่างสงบได้อย่างไร คือ นิยามหนึ่งของ “มรณานุสสติ” จึงเกิดเป็นรูปแบบศิลปะการแสดงสดและสื่อร่วมสมัย (Performance Art and Intermedia) ขึ้นในชื่อ “For 49 Days Exhibition” : Mind journey beyond death ซึ่งจัดแสดง          ณ สตูดิโอชั้น 4  หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 

             การทำงานเริ่มต้นด้วย การทำความเข้าใจกับความหมายของ “มรณานุสสติ”(4) นิยามหนึ่งที่เกี่ยวกับความตายภายใต้คำสอนของพระพุทธศาสนามหายาน ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวความตาย ที่นำมาเป็นอารมณ์ เรียนรู้ความตาย ก่อนการจากไปอย่างสมบูรณ์ โดยแยกส่วนประกอบของผลงานออกเป็น 2 ส่วนคือ การแสดงบุดโต และสื่อมัลติมีเดี่ย (Multimedia) ใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการสร้างความสัมพันธ์ทางกายภาพ ให้ผู้ชมสัมผัสกับภาพ แสง สี เสียง ที่เป็นปัจจุบัน สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานเริงรมย์ เพื่อตอบสนองการสื่อเนื้อหาทางสังคมที่มีความต้องการสูง เป็นกิเลสที่ผู้คนใฝ่หา
            การแสดง ”บุดโต” (Butoh Dance ยังคงใช้พื้นฐานการแสดงตามแบบฉบับที่มีการพัฒนา รูปแบบร่วมสมัย สภาวะที่เงียบงันภายในห้องจัดแสดง เริ่มต้นด้วยเสียงหวีดร้องจากกลุ่มนักแสดงที่วิ่งกรูกันออกมาจากด้านหลังของ
ผู้ชม ไปยังตรงกลางเวทีด้านหน้า ท่าทางการร่ายรำที่ไม่ใช้ท่าทางของมนุษย์ ประกอบกับแสงสีอันจัดจ้าน จากฉากหลังที่สะท้อนความหมายจากท่าทางการเต้น และเสียงเพลงหลอนๆ คล้ายแนวเพลง Death Metal สลับกับเสียงเพลงที่ทำให้รู้สึกปลดปล่อย สร้างความสับสนให้กับผู้ชม แต่เมื่อดูไประยะหนึ่งจะถูกดึงเข้าไปถึงเนื้อหาของผลงานศิลปะชิ้นนี้อย่างไม่รู้ตัว




            ลักษณะการทำงานใช้มุมมองทางความคิด จากการรับรู้สิ่งเร้าทางสังคมที่ผู้คนมักคล้อยตาม ด้วยการยั่วยุของความอยาก กิเลสที่ยากจะหลุดพ้น ถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบทางกายภาพที่รับรู้พื้นฐานได้ด้วยการมองเห็น ส่วนประกอบในแต่ละส่วนมีการคิดค้นให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและพื้นที่การแสดง โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ของศาสตร์ทางศิลปะทั้ง 2 สิ่ง ให้สามรถร่วมกันทำหน้าที่สื่อ เนื้อหาสาระเกี่ยวกับ  “มรณานุสสติ” ให้ชัดเจนที่สุด

            วิธีการทำงานในรูปแบบศิลปะการแสดงสดและสื่อร่วมสมัย (Performance Art and Intermedia) ของอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ได้สร้างความแปลกใหม่ และความน่าสนใจให้กับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งหากลองค้นหา วิธีการทำงานของศิลปินคนอื่นๆ ในลักษณะคล้ายกันนี้ คงต้องกล่าวถึง บิว วิโอล่า (Bill Viola) ศิลปินร่วมสมัยหัวก้าวหน้า ที่ทำงานผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการทำงานร่วมกับศาสตร์ที่เกี่ยวกับศิลปะการแสดง โดยมักนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกันสภาวะภายใต้แรงกดดันของสังคม
หากนำผลงานมาเปรียบเทียบกัน จะพบว่ามีความแตกต่าง กันในเนื้อหาและ ผลกายภาพแต่มีรูปแบบและวิธีการที่คล้ายกัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ  อาจได้รับอิทธิพลจากการทำงานลักษณะดังกล่าว
เพราะบิว วิโอล่า (Bill Viola) เป็นศิลปินคนแรกๆ ที่มีการคิดค้น
                               การ ทำงานลักษณะวิธีการแบบเดียวกันนี้                                                 

 
                                                               ผลงานของ บิว วิโอล่า (Bill Viola)                                                           ผลงานของ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ

            วิธีการทำงานของอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ไม่ได้แค่เพียงต้องการนำเสอนผลทางกายภาพที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังคงแอบแฝงนัยยะในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งเว้นช่องว่างให้กับผู้ชมได้จินตนาการ คิดทบทวนและตีความผ่าน ทัศนธาตุต่างๆที่มองเห็น แต่สิ่งที่สามารถสื่อถึงผู้ชมได้มากที่สุดคือ การแสดงอารมณ์ความรู้สึก ที่อาจนำพาผู้ชมเข้าถึงเนื้อหาสาระแท้จริงของผลงาน โดยไม่ต้องการคำอธิบายใดๆนอกจากภาพที่ปรากฏ และท่าทางที่ร่ายรำประกอบเข้าด้วยกัน
            จากการศึกษากระบวนการทางความคิดของผลงานยังสามารถเรียนรู้ถึง วิธีการทำงานที่เป็นระบบและมีการจัดการที่ดี ต่อการทดลองการทำงานศิลปะในรูปแบบใหม่ ที่ควรนำไปใช้เป็นตัวอย่างของการศึกษาระบบ กระบวนการทางความคิดและวิธีการทำงาน ซึ่งแสดงออกอย่างชัดเจน จากผลงานที่ปรากฎผลสำเร็จทางความคิด ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม
            สิ่งที่ผู้ชมผลงานทุกคนจะได้รับคล้ายกันคือ คำถามที่ตั้งเป็นข้อสงสัยว่าทำไม ถึงต้องแสดงออกในลักษณะนี้ หรืออาจได้รับความคิดที่เกิดจินตนาการสู่การรับรู้ที่แปลกใหม่ และทำให้เข้าใจสิ่งที่ผลงานต้องการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้สิ่งใด หรือไม่ก็ตาม คงไม่สำคัญไปกว่าความคิดที่ศิลปินและนักแสดงพยายามสร้างสรรค์ เพื่อจุดหมายที่ต้องการให้ผู้คนเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิต อยู่บนความไม่ประมาณ เรียนรู้อนาคตอันใกล้ ที่เราทุกคนหนีไม้พ้น “ความตาย” แต่จะตายอย่างไรให้สมบูรณ์ คงเป็นอีกประเด็นที่ศิลปินเว้นช่องว้างเอาไว้ให้ผู้ชมได้ใช้ความรู้สึก จากภายในจิตใจไปคิดทบทวนหาคำตอบด้วยตัวเอง



อย่างไรก็ ตามนี่อาจเป็นการทดลองหนึ่งของอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ แต่ก็สามารถสร้างกระแส การทำงานศิลปะที่ ก้าวล้ำไปกว่าการทำงานร่วมสมัยในรูปแบบอื่น ซึ่งการทดลองอาจมีข้อผิดพลาดบางประการ ด้วยการทำงานที่ไม่คุ้ยเคย สิ่งหนึ่งที่อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ได้พยายามแสดงออกที่สามารถรับรู้ได้ก็คือ การทำงานศิลปะ ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบ ขอเพียงมีความเข้าใจในความคิดและรู้จัก จัดการกับสิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวแปรหรือข้อกำหนดด้วยปัจจัยใดก็ตาม จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ  ออกมาได้อย่างมีคุณค่า ไม่ด้อยไปกว่าการทำงานศิลปะในรูปแบบประเพณี



(1) ศิลปะหลังสมัยใหม่ (Post Modern) ภาพลักษณ์ใหม่ทางศิลปะ โดยมีแนวคิดที่เห็นความงามทางความคิดสำคัญกว่า  การสร้างภาพลักษณ์ให้เห็นเป็นรูปธรรม วัสดุรูปแบบ เทคนิค วิธีการ กระบวนการสร้างสรรค์มักแอบแฝงไปด้วยความคิด มีนัยยะทางปรัชญา
(2) อกัมมันต์ (passive) หมายถึง ปฏิกิริยาอาการที่ไม่มีการโต้ตอบ
(3) ศิลปะสื่อผสม (Mix Medai) การทำงานศิลปะที่มีการผสมผสานสื่อทางศิลปะที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่นการผสมกันระหว่างงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ เสียง กลิ่น หรือการสัมผัสทางกาย
(4) มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์  ความตายเป็นเรื่องธรรมดาของสัตว์และมนุษย์ จากคำสอนพระพรหมยาน


บรรณานุกรม
หนังสือ
                     มาร์ค ไทรบ์นิวมีเดียอาร์ต(New Media Art).กรุงเทพ บริษัท เดอะเกรทไฟน์อาร์ท จำกัด,2553
-               สุธี คุณาวิชยานนท์.จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่.กรุงเทพ:บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน), 2545
-               ศิลป์ ภาคสุวรรณ.รู้จักญี่ปุ่น.กรุงเทพ: ศูนย์หนังสือกรุงเทพ,2531
เว็บไชต์
-               www.butoh.net
-               www.butohschool.co



2 ความคิดเห็น: