วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์ผลงาน Bicycle Wheel ของ Marcel Duchamp



Bicycle Wheel เป็นงานศิลปกรรมที่ถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุสำเร็จรูป¹ (Ready-made) ซึ่งเป็นการนำวัสดุที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันมาปรับแต่ง เพิ่มเติม ให้เกิดมุมมองใหม่ทางความคิด โดยมุ่งเน้นความสำเร็จรูปอย่างชัดเจน  Bicycle Wheel เป็นผลงานศิลปกรรมที่ประกอบขึ้นจากวัสดุ 2 ประเภท คือ ล้อรถจักรยานที่เป็นโลหะและเก้าอี้ไม้  Duchamp เลือกวัสดุที่มีสีแตกต่างกัน แต่มีความสอดคล้องกันทางรูปทรง เพื่อสร้าง
             จุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ของ Marcel Duchamp เกิดจากความคิดที่ต่อต้านการสร้างสรรค์งานศิลปะแบบดั้งเดิม ซึ่งรูปแบบงานศิลปะ Cubism สร้างแรงพลักดันให้เกิดผลงานจนได้รับการย่งย่อง แต่ Duchamp ต้อการแสวงหาแนวทางการทำงานศิลปะที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง อีกทั้งยังมีความสนใจในปรัชญาของ Descartes Rene "Cogito Ergo Sum" : ฉันคิด ฉันจึงเป็นตัวฉัน จึงมี
ความพยายามนำความคิดในเชิงปรัชญาดังกล่าว มาสร้างสรรค์งานศิลปะของตนเอง ผสมผสาน
กับการเยาะเย้ยถากถางงานศิลปกรรมก่อนหน้า โดยเริ่มต้นจาก
การทดลองนำโถปัสสวะมาจัดวาง  ในมุมมองที่แตกต่างและเซ็นต์ชื่อลงบนผลงานของตนเองตามค่านิยมของการทำงานศิลปะแบบดั้งเดิม จึงเกิดเป็นผลงานชื่อ “Fountain” ในปี ค.ศ.1917 ซึ่ง Duchampได้อธิบายถึงแนวความคิด คุณค่าของสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้ด้วยตัวมันเองโดยมองว่าวัตถุ วัสดุหรือสิ่งต่างๆที่พบเห็นล้วนแล้วแต่มีคุณค่าจากความคิดที่สำเร็จรูปจากการผลิตของมนุษย์  เพียงแต่การพบเห็นเป็นปกติไม่สามารถนำไปสู่การเห็นคุณค่าที่แท้จริงได้  หากมีการปรับแต่งหรือเปลี่ยนแปลงให้ผิดแปลกไปจากเดิมวัสดุที่พบเห็นก็สามารถเป็นงานศิลปะชิ้นเยี่ยมได้
            Marcel Duchamp พัฒนาการทำงานศิลปะของตนเองจาก Cubism เป็นศิลปะรูปแบบ Futurism กลุ่มศิลปิน Dada จึงยกย่องให้ 
เป็นผู้นำกลุ่ม    Duchamp เป็นศิลปินคนแรกที่นำวัสดุสำเร็จรูปมาใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม
อย่างชัดเจนและจริงจัง แสดงให้เห็นถึงลักษณะงานศิลปะสื่อผสม² อย่างชัดเจนหลังจากความพยายามนำวัสดุมาใช้ในการสร้างสรรค์ของ Picasso และ Georger Braque
         Bicycle Wheel  สร้างสรรค์จากความคิดทางปรัชญาที่ตอบสนองความต้องการสะท้อน
ความเป็นไปทางสังคมในเรื่อง ค่านิยมเกี่ยวกับศิลปะและสุนทรียศาสตร์  โดยพยายามแสดงออกในเรื่องแง่มุมทางความคิดที่มีความสำคัญกว่าภาพลักษณ์ภายนอกของงานศิลปะ หรือที่มาของวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์  ด้วยวิธีการสร้างความแปลกใหม่  ให้ผู้ที่พบเห็นได้เกิดความรู้สึกโต้ตอบกับงานศิลปะโดยตรง ซึ่งตรงกับประเด็นในทฤษฎีความคิดของ Alexander Gerard “ความรู้สึกเกี่ยวกับการโต้ตอบ (reflex sense)
            การโต้ตอบ (สะท้อนกลับ) ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับผัสสะเหล่านั้น  ซึ่งทำหน้าที่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบ (reactive function) เป็นบางสิ่งบางอย่างของเครื่องหมายสูงสุดในทฤษฎีเกี่ยวกับ 
ความรู้สึกพิเศษ” (special sense) ซึ่งมีการจำแนกความแตกต่างออกเป็น 7 ชนิดคือ
1. ความรู้สึกเกี่ยวกับความแปลกใหม่        ( the sense of novelty )
2. ความรู้สึกเกี่ยวกับความสูงส่ง               ( the sense of sublimity )
3. ความรู้สึกเกี่ยวกับความงาม                 ( the sense of beauty )
4. ความรู้สึกเกี่ยวกับการเลียนแบบ          ( the sense of imitation )
5. ความรู้สึกเกี่ยวกับความกลมกลืน         ( the sense of harmony )
6. ความรู้สึกเกี่ยวกับความแปลกใหม่       ( the sense of novelty )
7. ความรู้สึกเกี่ยวกับคุณความดี               ( the sense of virtue )
Bicycle Wheel  แสดงออกถึงความรู้สึกแปลกใหม่ในการสร้างสรรค์ กระตุ้นให้สนมาสนใจและคิดถึงเหตุผล ซึ่งอาจนำไปสู่ความนึกคิดหรือองค์ความรู้ใหม่ เกิดการพัฒนาทางความคิดและสุนทรียศาสตร์  นำพาไปสู่ความคิดที่ตอบสนองความต้องการของศิลปิน ที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่แปลกใหม่และทรงคุณค่าทางความคิด  อีกทั้งยังแสดงออกถึงความรู้สึกเยาะเย้ยถากถางงานศิลปะยุคก่อนหน้าในรูปแบบดั้งเดิม  เพื่อลบล้างความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานศิลปะตามแบบประเพณี
Bicycle Wheel  เป็นงานศิลปกรรมที่กระตุ้นกระแสทางความคิดที่เกิดการพัฒนา และส่งผลชี้นำกระแสการสร้างสรรค์ศิลปะ เพื่อตอบสนองเรื่องราวทางความคิด โดยให้อิทธิพลต่อแนวทางศิลปะ
Pre-Pop และ Concepture art³ ที่มุ่งเน้นการใข้ความคิดหรือปรัชญาในเชิง พุทธิปัญญา (intellectual)
Marcel Duchamp จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของศิลปะ Post-Modern
         อย่างไรก็ตาม Bicycle Wheel  เป็นส่วนหนึ่งในกระแสของการสร้างสรรค์งานศิลปะ 
Post-Modern  ที่แรงพลักดันเกี่ยวกับความคิด หรือปรัชญาที่ตอบสนองความต้องการของสังคม โดย
ต่อมาได้มีการพัฒนาไปสู่การทำงานศิลปะที่เน้นความคิดมากขึ้น แสดงออกถึงภาพลักษณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นความสำเร็จรูป แต่แอบแฝงไปด้วยปรัชญาทางความคิด



------------------------
¹  “วัสดุสำเร็จรูป ในภาษาอังกฤษ Ready-made พจนานุกรมศิลปะได้บัญญัติเป็นภาษาไทยว่า วัสดุเก็บตก เป็นวัตถุที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์
²  “สื่อผสม” ภาษาอังกฤษ Mix Media เป็นเทคนิคการทำงานศิลปะที่ใช้สื่อ หรือวัสดุมากกว่า ประเภท
³  “Concepture art” พจนานุกรม อังกฤษ-ไทย แปลความว่า มโนทัศนศิลป์ เป็นการทำงานศิลปะที่เน้นความคิดมากว่าตัววัตถุ โดยมีวิธีการแบบ สัญวิทยา นิยมในตะวันตกในช่วง ค.ศ. 1960 – 1970 ใช้อธิบายงานศิลปะที่ไม่ใช้จิตรกรรมและประติมากรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น