วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

INFINITY PRINT @ brown sugar


    

     ในขณะที่สังคมอยู่ในช่วงเวลาแห่งการเร่งรีบและบีบคั้น แต่ละวันผู้คนดำเนินชีวิตอู่ภายใต้ อำนาจของ
เศรษฐกิจและการเมือง การแสวงหาความสุขที่นอกเหนือไปจากการดิ้นรนทำงานหาเงินเลี้ยงชีพ เป็นเรื่องสิ้น สำหรับใครหลายคน เพราะจุดมุ่งหมายของการดำเนินชีวิตในสังคมนี้ ทำเพียงเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น จึงไม่แปลกหากการเสพความสุขจากงานศิลปะ ดูจะเป็นการฆ่าเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถึงกระนั้นยังคงมีกลุ่มนักศึกษาศิลปะมากมายพยายามสร้างสรรค์ผลงานสะท้อนอารมณ์ วิธีคิด และปรัชญา ตามรูปแบบวิธีการที่ตนเองถนัดออกมาให้ได้ชมกันเรื่อยมา


     นิทรรศการ "INFINITY PRINT" เป็นนิทรรศการภาพพิมพ์ร่วมสมัยที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่ม
นักศึกษาปริญญาโท ชั้นปีที่1 คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำเสนองานจิตรกรรม 2 มิติที่ถูกเรียกว่า "ภาพพิมพ์" อันเนื่องมาจากกระบวนการสร้างสรรค์ที่จำเป็นต้องอาศัยแม่พิมพ์ พิมพ์ลงบนกระดาษหรือวัสดุอื่นตามต้องการ ผลงานส่วนใหญ่จึงมีลักษณะพิเศษ เฉพาะตัวและมีคุณค่าไม่ต่างจากภาพวาดหรืองานศิลปะประเภทอื่น ภายในนิทรรศการประกอบไปด้วยผลงานของนักศึกษา 8 คนที่พยายามสร้างสรรค์ภาพพิมพ์ออกมา 8 รูปแบบได้อย่างน่าสนใจ
     ผลงานชุดแรกเป็นของนักศึกษาหญิงที่เธอกำลังถูกจับตามองจากวงการศิลปะร่วมสมัยในฐานะศิลปิน
ผู้คิดคั้นเทคนิคการสร้างภาพพิมพ์ตามแบบฉบับของเธอเอง ชญานิษ ม่วงไทย เสนอกระบวนการเผาไหม้ของไฟ ภายใต้การแสดงออกพฤติกรรมความเป็นมนุษย์ ผลงานชิ้นต่อมาเป็นของ พรยมล สุทธัง ผู้ทราบซึ้งและประทับใจกับร่องรอยชอล์คบนกระดาน จากคำสอนของคุณครู ซึ่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ เธอจึงพยายามบันทึกและสร้างสรรค์ออกมาเป็นภาพพิมพ์ โดยยังคงความงามในองค์ประกอบศิลป์ ที่เป็นสิ่งจำเป็นของศิลปะไว้
                                                                                                                                  ผลงานของศิลปิน ทั้ง 8
      ชาลิศา วงษ์มงคล ใช้การซ้อนทับของผ้าโปร่งใส สร้างมิติการลวง เพื่อแสดงการบิดเบือนตัวตน
ภายใต้ใบหน้าที่ไรเดียงสา ธนวัฒน์ พรหมสุข สร้างกระบวนการผสมผสานการปักเย็บ ฉีก และดึง ต่อเติมให็เกิดมิติใหม่สะท้อนความหมายแทนบุคคลอันเป็นที่รัก สุรศักดิ์ สอนเสนา นำเสนอภาพพิมพ์แกะไม้ เป็นภาพต้นไม้ย้อนกลับสู่ภายในของความสงบ ปราชญ์ คณานุรักษ์ ใช้การเจาะภาพถ่ายตนเองเป็นที่กำหนดสติ เพื่อหาหนทางการระบายออกภาวะความสับสนและทึบตันของจิต นภาพร มบขุนดาล ใช้แม่พิมพ์แกะไม้ สร้างภาพลักษณ์ของชีวิตพื้นถิ่นบนผืนผ้าห่มกาย วนีย์วรรณ์ กิตติบดีสกุล เสนอภาพความทรมานของร่างกายและจิตใจใต้ริ้วน้ำ โดยถ่ายทอดลงในเทคนิค อะควอติน (aquatint)1



     จากศิลปินที่หลากหลายก่อเกิดรูปแบบ เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพพิมพ์ และสิ่งสำคัญ แนวความคิดที่แตกต่างกัน ทำให้เห็นถึงจินตนาการที่สร้างสรรค์อย่างไม่รู้จบ บนพื้นฐานกระบวนการภาพพิมพ์ ที่มีพัฒนาการอย่งต่อเนื่อง ตามยุคสมัย นี่อาจเป็นนัยยะของการรวมตัวกันของศิลปินทั้ง 8 ที่ต้องการสื่อสารสาระสำคัญ และความสวยงามของงานศิลปะที่ผ่านกระบวนมาอย่างมากมาย และพยายามสื่อสารกับเราทุกคนว่า หากเรายังคงมีความฝันและจินตนาการ ก็จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆออกมาได้ไม่รู้จบ


     อย่างไรก็ตามนิทรรศการ "INFINITY PRINT" และผลงานภาพพิมพ์ของศิลปินทั้ง 8 ได้ทำหน้าที่ของตนเอง โดยได้ส่งต่อความคิดและเล่าเรื่องราวต่างๆแทนศิลปินได้เป็นอย่างดี ถึงแม้เสียงอาจยังไม่ดังนักด้วยความสามารถ และกำลังของข้อจำกัดในพื้นที่ และความเป็นนักศึกษา แต่สุดท้าย สิ่งที่เราได้รับคือความสุข แรงบันดาลใจที่ได้เห็นผลงานภาพพิมพ์ ได้รับรอยยิ้มและมิตรภาพที่ศิลปินทั้ง 8 มอบให้กับเราทุกคน ในนามขอศิลปินภาพพิมพ์ที่สร้างสรรค์อย่งไม่รู้จบ

 ..............................................................................
1 aquatint เป็นเทคนิคหนึ่งของภาพพิมพ์โลหะร่องลึก ( intalglio) กรรมวิธี คือ โรยผงยางสน (rosin)ลงบนแม่พิมพ์ ด้วยการโรยยางสน หรือด้วยมือ (ห่อยางสนบดละเอียดเป็นลูกประคบ แล้วตบให้ผงยางละเอียดหล่นลงบนแม่พิมพ์ ) นำแม่พิมพ์ไปลนความร้อนให้ผงยางละลายติดบนแผ่นแม่พิมพ์แล้วนำไปแช่น้ำกรด  ผงยางสนนี้จะเป็นตัวกันกรด ภายหลังจึงล้างผงยางสนออก ผลของการกัดจะเกิดพื้นผิวบนแม่พิมพ์  จะเป็นน้ำหนักอ่อนแก่ตามระยะเวลาของการแช่ในน้ำกรด ศิลปินมักใช้เทคนิคนี้ประกอบกับเทคนิคทางแม่พิมพ์โลหะอื่นๆ วิธีทำ Aquatint ด้วยผงยางสนนี้ คิดค้น โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean Baptiste Le -Prince ในราวปี ค.ศ. 1768 นอกเหนือจากวิธีการโรยยางสนแล้ว ยังสามารถใช้วิธีพ่นแลคเกอร์สเปรย์ หรือสีสเปรย์ได้เช่นกัน

ที่มา http://www.chaarts.com/article%20print%20making%204.html
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น